
ฉะเชิงเทรา-นิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี้ จับมือ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดกิจกรรม Art of life สถาปัตย์เพื่อการท่องเที่ยวทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน แห่งแรกของประเทศไทย
วันนี้(7 ธ.ค.66) นางสาวกมลชญา ประเสริฐสิน นายอำเภอบางปะกง พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนักเรียนในพื้นที่ อ.บางปะกง ร่วมกันเปิดกิจกรรม Art of life สถาปัตย์เพื่อการท่องเที่ยวทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ กล่าวว่า โครงการพัฒนาทุ่งสมุนไพรป่าชายเลนนี้ จะเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคม ทำให้เยาวชนและชุมชนเกิดการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรที่ตนมีอยู่ เป็นแหล่งเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญา สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พร้อมทั้งต่อยอดความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งในอนาคต บลูเทค จะสร้างพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นฮับสมุนไพรป่าชายเลน โดยทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา และท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อยอดอาชีพ รายได้ ให้กับคนในชุมชน
โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นักเรียนที่เข้าร่วมงาน จะได้ชมนิทรรศการนวัตกรรมพลังงานสะอาด พลังงานบริสุทธิ์ นิทรรศการปูทองขาว ชมสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน จาก 4 วิสาหกิจชุมชน การนิเทศผลงานนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และลงพื้นที่ปล่อยปูทะเล จำนวน 1,000 ตัว และร่วมกิจกรรมสถาปัตย์เพื่อท่องเที่ยวทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน ใน 5 ฐานกิจกรรม ซึ่งนักเรียน จะได้รับความรู้ เกี่ยวกับสรรพคุณพืชสมุนไพรชายทะเล การแปรรูปสมุนไพร และสินค้าจากสมุนไพร สร้างความรักและตระหนักในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ควบคู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชน
More Stories
คอนเสิร์ตการกุศล เชิดชูกวีเพลง 3 แผ่นดิน “ไตรกาล” ครูสุรพล โทณะวณิก ศิลปินแห่งชาติ
สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม โล่ประกาศกิตติคุณ คนดีของแผ่นดิน
“ERDI-CMU จับมือ บจก. เจริญชัย” ต้อนรับอธิบดี พพ. ชมเทคโนโลยี Platform AI บริหารจัดการ Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า