10/10/2024

ไทยสมายล์ กรุ๊ป ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)ผุดไอเดีย “สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต” แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม Low Carbon

ไทยสมายล์ กรุ๊ป ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)ผุดไอเดีย “สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต” แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม Low Carbon

 


วันนี้(28 ต.ค2566) ที่ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลนนิคมอุสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นำคณะผู้บริหาเจ้าหน้าทีพนักงานไทยสมายล์ กรุ๊ปและบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกิจกรรมโครงการ ปลูกต้นไม้ป่าชายเลน


จากการต่อยอด ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลนเมื่อปี 2565 สู่การเป็นสถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต ในปี 2566 เป็นตัวชี้วัดที่ชาวบ้านสามารถพิสูจน์ด้วยตาเปล่าและจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและการศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยี


กลิ่นไอความเจริญ เกิดขึ้นแล้ว ณ ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่ตะวันออก EEC เมื่อกลุ่มไทยสมายล์ กรุ๊ป ผู้นำรถขนส่งสาธารณะ Low Carbon ร่วมกับ บลูเทคซิตี้ ฉะเชิงเทรา และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)ผู้นำนวัตกรรมพลังงานบริสุทธิ์ ได้นำพนักงานร่วมกับชาวบ้านบางปะกงกว่า 100 ชีวิต สานพลังบริสุทธิ์ช่วยกันปลูกป่าชายเลน

เช่น ต้นถั่วขาวทะเล ต้นฝาดดอกขาว-แดง รวมจำนวน 1,000 ต้น เทียบเท่าการกักเก็บคาร์บอนได้ 100 ตัน ใน 10 ปี และใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยเยาว์ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่โลก


รวมทั้ง การผุดไอเดียพัฒนา“สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต” โดยมีแนวคิดจัดทำโครงการบ้านปลาธนาคารปู ที่เบื้องต้น ได้ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทราศึกษาวิจัยเพาะพันธุ์ลูกปูทะเล ที่มีเป้าหมายจะปล่อยลูกปูคืนสู่ธรรมชาติปีละ 1,000,000 ตัว โดยวางแผนปรับปัจจัยแวดล้อมให้ลูกปูสามารถเติบโตเต็มวัย จนประชาชนสามารถจับขายได้

ซึ่งมีราคาโดยเฉลี่ยตัวละ 100 บาท คิดเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดการประเมิน สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิตได้อย่างดี ที่มีทั้งดินดี น้ำดี มีคุณภาพชีวิตดี มีงาน มีอาชีพ มีรายได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขได้อย่างยั่งยืน

You may have missed