เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโวย สสส. ออกข่าวบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายเพิ่มจาก 5% เป็น 67% ไม่ถูกต้อง ชี้สองงานวิจัยที่ทำการศึกษาคนละวิธีเอามาเทียบกันไม่ได้ พร้อมแนะ สสส. และ NGO สายสุขภาพอย่านำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนเพราะจะสร้างความกังวลให้กับสังคมได้ ย้ำประเทศไทยต้องรีบทำบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการให้ข้อมูลผิดๆ แบบในปัจจุบัน และช่วยชีวิตคนไทยที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละกว่า 70,000 คน
นายมาริษ กรัณยวัตน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “เครือข่ายลาขาดควันยาสูบ” และแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน กล่าวถึงการนำข้อมูลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ไปเปรียบเทียบกับสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England) ว่า “การนำผลการศึกษานี้ไปเปรียบเทียบกับรายงานของ PHE แล้วสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 67% เป็นการสรุปที่ไม่ถูกต้อง เพราะรายงานของ PHE ที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่นั้น เป็นการวัดปริมาณสารเคมี โดยรายงานระบุว่าสารประกอบในควันบุหรี่รวมทั้งสารก่อมะเร็งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แทบจะไม่เจอเลยในไอละอองของบุหรี่ไฟฟ้า หรือถ้าเจอก็จะอยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 5% เมื่อเทียบกับที่เจอในควันบุหรี่ ขณะที่การศึกษาของ ม. โอทาโก เป็นการสะท้อนถึงการเกิดโรค เมื่อตัวชี้วัดทางกายภายได้รับสารเคมีจากไอละอองเข้าไป ซึ่งการศึกษาสรุปชัดเจนว่าอันตรายต่อสุขภาพจากบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ที่ 33.2% เทียบกับบุหรี่”
นายมาริษยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่า สสส. และ NGO สายสุขภาพยังคงพยายามใช้เทคนิคเดิมๆ โดยการให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน และดิสเครดิสงานวิจัยที่ผ่านการรวบรวมข้อมูลอย่างมีมาตรฐาน โดยบอกว่ามี 2 งานที่เป็นงานที่สนับสนุนโดยบริษัทยาสูบ โดยไม่พิจารณาผลการวิจัยและความน่าเชื่อถือของการทำวิจัย แสดงถึงอคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า จนทำให้ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ ซึ่งคนที่เป็นแพทย์และต้องการรักษาชีวิตของผู้สูบบุหรี่ ไม่ควรเพิกเฉยกับข้อมูลที่มีประโยชน์และน่าจะช่วยลดอันตรายหรือรักษาชีวิตผู้สูบบุหรี่ได้”
งานวิจัยซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยโอทาโกดังกล่าวเป็นการรวบรวมการศึกษา 5 ชิ้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจาก 584 ชิ้นโดยดูตัวชี้วัดทางกายภาพ (biomarker) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะก่อให้เกิดโรคในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นการสะท้อนถึงการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย โดยจะทำการศึกษาว่าเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีจากไอละอองของบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ตัวชี้วัดเหล่านั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ก่อนจะนำผลจากตัวชี้วัดทางกายภาพดังกล่าว มาคำนวณความสูญเสียทางสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคที่จำเพาะกับการสูบบุหรี่เทียบกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งพบว่าอันตรายต่อสุขภาพจากบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เพียงแค่ 33.2% เทียบกับบุหรี่
“ข้อสรุปของงานวิจัยนี้ผลการศึกษาฉบับนี้สอดคล้องกับที่หน่วยงานสาธารณสุขชั้นนำจากหลายประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ หรือองค์กรเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลกที่ยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ ซึ่งข้อมูลลักษณะนี้ควรได้รับการนำเสนอเพื่อให้คนสูบบุหรี่ได้รู้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่เป็นทางเลือกที่ทดแทนการสูบบุหรี่ได้ แต่การแบนบุหรี่ไฟฟ้าของไทยทำให้มีแต่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่กลุ่มต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าพยายามนำเสนอ เพราะอยากให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกแบนต่อไป เราอยากเห็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับสังคม จะได้หาทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าใหม่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเช่นเดียวกับอีก 79 ประเทศทั่วโลก เพราะจากที่แบนบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้ว 7 ปี มีแต่ผลลบมากมาย ปิดกั้นเสรีภาพในทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่าของคนเกือบ 10 ล้านคน ก่อให้เกิดธุรกิจใต้ดินขนาดมหาศาลมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปีโดยกรมสรรพสามิตเก็บภาษีไม่ได้แม้แต่บาทเดียว และยังทำให้เกิดการทุจริตคอรับชั่นจับกุมรีดไถผู้ใช้และนักท่องเที่ยวต่างชาติ แล้วจะให้กระทรวงดิจิทัลฯ ไปวิ่งไล่จับไล่ปิดการขายออนไลน์ที่มีนับพันนับหมื่นรายก็เป็นไปได้ยาก จึงสมควรที่นำขึ้นมาควบคุมให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แล้ว”
More Stories
โครงการสร้างความรู้ เตรียมความพร้อม ซ้อมแผนรับมือภัยที่เกิดจากมนุษย์ เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรง ช่วยเหลือคนพิการและครอบครัว รวมทั้งคนในชุมชน
บุรีรัมย์-กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จัด “โครงการร่วมใจภักดิ์ รักษ์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
สคอ.-สสส. และเครือข่าย ยื่นข้อเสนอต่อสมาชิกวุฒิสภา ช่วยเร่งจัดการความเสี่ยงลดเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุ ทางถนน ชี้ประเทศไทยควรมีนโยบายและปฏิบัติตามแผนต่อเนื่อง